นโยบายและแนวปฏิบัติของประชาสังเคราะห์ ถูกพัฒนาโดยชุมชนเพื่ออธิบายวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง อธิบายหลักการให้ชัดเจน แก้ไขความขัดแย้ง และอื่นๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายการสร้างสารานุกรมต่อยอดที่เสรีและเชื่อถือได้ นโยบายทั้งหมดอธิบายมาตรฐานที่ผู้ใช้ควรเดินตาม (โดยอาศัยสามัญสำนึก) ในขณะที่แนวปฏิบัติบอกถึงวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำเช่นนั้นได้
ประชาสังเคราะห์พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมอันเป็นมิตรให้กับผู้ที่มีมุมมองเป็นกลาง มีความเป็นสุภาพชนและเชื่อว่าผู้อื่นมีเจตนาดี ปฏิบัติตามมติอันเป็นเอกฉันท์ในการอภิปราย และทำงานมุ่งสู่เป้าหมายในการสร้างสารานุกรมที่เขียนอย่างรอบคอบรัดกุมและมีเนื้อหาครอบคลุมกว้างขวาง โดยทั่วไปแล้ว หากเกิดข้อขัดแย้งระหว่างนโยบายและแนวปฏิบัติ นโยบายควรมาก่อนแนวปฏิบัติเสมอ แต่บางครั้งขอให้คุณลืมกฎทั้งหมดนี้เสีย ถ้าหากกฎดังกล่าวขัดขวางความพยายามของคุณเพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาประชาสังเคราะห์
การบังคับใช้นโยบาย[]
เนื่องจากคุณเองก็เป็นผู้ใช้ประชาสังเคราะห์คนหนึ่ง การแก้ไขหน้าของคุณและการปรึกษาประเด็นเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้ใช้คนอื่น ๆ จึงถือเป็นการบังคับใช้นโยบายและแนวปฏิบัติไปในตัว ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีสิทธิ์ในการแก้ไขหน้าบทความอย่างเท่าเทียมกัน แม้อาจมีบางนโยบายซึ่งจะบังคับใช้โดยทีมงาน และผู้ดูแลระบบของประชาสังเคราะห์เท่านั้น เช่น การบล็อกผู้ใช้ และการใช้ซอฟต์แวร์บางอย่างสำหรับการปฏิบัติงานของผู้ดูแลระบบ
นโยบายหลัก[]
- ประชาสังเคราะห์คือสารานุกรม
- ประชาสังเคราะห์ใช้มุมมองที่เป็นกลาง
- ประชาสังเคราะห์เผยแพร่เนื้อหาแบบเสรี
- ปฏิบัติต่อผู้ใช้คนอื่นด้วยความเคารพและมีมารยาท
- ประชาสังเคราะห์ไม่มีกฎตายตัว
นโยบายอื่นๆ[]
- ประชาสังเคราะห์:กฎพื้นฐาน กฎง่าย ๆ เพื่อพ้นปัญหายุ่งยาก
- ระเบียบของประชาสังเคราะห์ กฎระเบียบต่างๆ ในการแก้ไขประชาสังเคราะห์
- คู่มือในการเขียน อธิบายวิธีการเขียน การใช้คำ การจัดรูปแบบในประชาสังเคราะห์
- นโยบายการใช้ภาพ
- ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย
- อย่าว่าร้ายผู้อื่น
ทุกนโยบายและแนวปฏิบัติ จะพบได้ในหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งดังนี้
- หมวดหมู่:นโยบายประชาสังเคราะห์ นโยบายที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และทุกคนได้รับการคาดหวังว่าจะปฏิบัติตาม
- หมวดหมู่:แนวปฏิบัติประชาสังเคราะห์ กฎเตือนใจที่เข้มงวดน้อยลงมา ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปให้ใช้ในหลายกรณี
อธิบายเพิ่มเติม[]
ข้อควรระวังไม่ใช่นโยบายหลัก ถ้าปฏิบัติตามได้ก็เป็นการดี แต่ถ้าละเลยก็ไม่ได้ก่อความเสียหายมากนัก คุณสามารถละเลยได้ ถ้ามันเป็นอุปสรรคในการเขียนบทความของคุณ (เช่น คุณไม่มีพจนานุกรม หรือ คุณไม่มีความรู้ด้านหลักภาษาไทย เป็นต้น)
- ควรตรวจสอบตัวสะกดให้ถูกต้องทุกครั้ง หากไม่แน่ใจให้เปิดพจนานุกรมรูปเล่ม หรือสามารถค้นหาคำได้ที่ เว็บพจนานุกรมราชบัณฑิตยสภา
- ถ้าประโยคยาวเกินไป ให้ลองพยายาม เว้นคำ ดูบ้าง นอกจากจะช่วยให้อ่านได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยให้แสดงผลในเว็บเบราว์เซอร์ได้ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนก็ช่วยได้ ถ้าจำเป็น
- พึงระลึกว่า บทความที่บันทึกไว้ คือบทความที่สามารถอ่านได้ เข้าใจ รู้เรื่อง มีใจความสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง หากประสงค์จะเขียนบทความที่มีความยาวมาก อาจทยอยนำมาลงเป็นตอนๆ โดยที่แต่ละตอน ควรจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง สำหรับบทความแปล หากประสงค์ทยอยแปล ไม่ควรทิ้งภาษาต่างประเทศเอาไว้
- หาก "มีความประสงค์" จะแปลบทความจากวิกิพีเดีย, ชุมชนแฟนดอมอื่น หรือเว็บไซต์ต่างประเทศอื่น แต่ยังไม่มีเวลาแปล ไม่ควรจะคัดลอกบทความภาษาต่างประเทศมาทิ้งไว้ ควรรอจนกว่าจะได้แปลจนจบอย่างน้อยสักช่วงหนึ่งหรือตอนหนึ่งก่อน แต่หากต้องการโหลดภาพมาลงไว้ ก็สามารถทำได้
- พึงระลึกว่าเนื้อหามีความสำคัญกว่ารูปแบบ ถ้าหากรูปแบบเป็นอุปสรรคต่อการเขียนเนื้อหา คุณสามารถละเลยรูปแบบได้
- รูปแบบเชิงโครงสร้างสำคัญกว่าสิ่งที่มองเห็น
- ประชาสังเคราะห์เป็นสารานุกรมที่มีการจัดระเบียบข้อมูล ทุกส่วนในบทความสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึง