ประชาสังเคราะห์

#ความรู้อยู่ในหัวทุกคน ติดตาม PSK ได้ทุกช่องทาง ทั้งบล็อก, เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม และบล็อกดิท สะดวกช่องทางไหน ติดตามได้ที่นั่น (อ่านต่อ)

READ MORE

ประชาสังเคราะห์
Advertisement
Emblem-important
บทความนี้ยังไม่มีการสังเคราะห์ใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
ต้องการขยายความ หรือเพิ่มเติมเนื้อหาให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยการเพิ่มเติมเนื้อหา หน้าอภิปรายอาจช่วยได้ (นำป้ายนี้ออก)
บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
ประเภท บริษัทจำกัด
ก่อตั้งเมื่อ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2510 (56 ปี)
สำนักงานใหญ่ 3199 อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
อุตสาหกรรม ธุรกิจโทรทัศน์
ผลิตภัณฑ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
เลขทะเบียน DBD:0105510005211
ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท
หมวดธุรกิจ 60101 การออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง (ยกเว้นทางออนไลน์)
บริษัทแม่ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.ท. เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ที่ไม่เก็บค่าบริการรับชม แห่งที่ 4 และเป็นสถานีโทรทัศน์สีแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการโดย บริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ออกอากาศด้วยระบบวีเอชเอฟ ความถี่ต่ำ ทางช่องสัญญาณที่ 3 จนถึงปี พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนมาออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 32

ปัจจุบันมีการแพร่ภาพคู่ขนานกับโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ที่ช่องหมายเลข 33 (ภาพคมชัดสูง) ของ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ตามคำสั่งของศาลปกครอง ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ถือเป็นผู้นำด้านรายการข่าว และละครโทรทัศน์ ลำดับต้นๆ ของประเทศไทย

ประวัติ

ข้อมูลทั่วไป

สถานีวิทยุโทรทัศน์
ไทยทีวีสีช่อง 3
ประเภท สถานีโทรทัศน์/สถานีวิทยุ
ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล
ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ
เริ่มออกอากาศ
  • แอนะล็อก
    26 มีนาคม พ.ศ. 2513 (54 ปี)
  • คู่ขนาน
    10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (9 ปี)
ยุติออกอากาศ
เจ้าของ
  • บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (เจ้าของสัมปทาน)
  • บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (ผู้ได้รับสัมปทาน)
สัญญาณเรียกขาน HS-TV3
ระบบภาพ 576i
16:9 (ความละเอียดมาตรฐาน/พาล)
1080i (ความละเอียดสูง)
ระบบเสียง
สำนักงานใหญ่ 3199 อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
ประเทศ ไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพ
สถานีพี่น้อง สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์
เว็บไซต์ www.ch3thailand.com

สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เกิดขึ้นจาก บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (อังกฤษ: Bangkok Entertainment Company Limited) ซึ่งมีวิชัย มาลีนนท์ เป็นผู้ก่อตั้ง จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ลงนามในสัญญาดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ ร่วมกับบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีอายุสัญญา 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513-25 มีนาคม พ.ศ. 2523

โดยตามสัญญา กำหนดให้มีที่ดินไม่น้อยกว่า 6 ไร่ เพื่อก่อตั้งสถานีส่งออกอากาศ พร้อมทั้งสิ่งก่อสร้าง และอุปกรณ์การส่งโทรทัศน์ทั้งหมด รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท โดยจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ ทันทีเมื่อเริ่มส่งออกอากาศ แต่เมื่อลงทุนจริง บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ใช้ทุนไปทั้งสิ้น 54.25 ล้านบาท สูงกว่าในสัญญาถึง 29.25 ล้านบาท และระหว่างร่วมดำเนินกิจการตามสัญญา ในระยะเวลา 10 ปีนั้น บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่ บจก.ไทยโทรทัศน์เป็นเงิน 44 ล้านบาท และเงินสวัสดิการแก่พนักงาน บจก.ไทยโทรทัศน์อีกปีละ 1 ล้านบาท รวมเป็น 10 ล้านบาท รวมเงินจ่ายทั้งหมด 54 ล้านบาท

อนึ่ง บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ได้รับอนุมัติให้ขยายอายุ สัญญาดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ กับองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ซึ่งแปรรูปจาก บจก.ไทยโทรทัศน์ เมื่อปี พ.ศ. 2520 มาแล้วสองครั้ง คือเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2521 ขยายออกไปอีก 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2523-25 มีนาคม พ.ศ. 2533 และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ขยายออกไปอีก 30 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2533-25 มีนาคม พ.ศ. 2563 รวมอายุสัญญาทั้งหมด 50 ปี

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2513 ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มทดลองแพร่ภาพออกอากาศ โดยใช้กำลังส่งเต็มระบบคือ 50 กิโลวัตต์ ด้วยเครื่องส่งขนานเป็นครั้งแรก ระหว่างเวลา 19:00-21:00 น. จากนั้นในวันที่ 15 เดือนและปีเดียวกัน ก็เริ่มทดลองแพร่ภาพแบบเสมือนจริง ระหว่างเวลา 09:30-24:00 น. และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ตามเวลาฤกษ์คือ 10:00 น. โดยมีจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดสถานีฯ[1][2]

อนึ่ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2540 ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง เป็นแห่งที่สองของประเทศไทย ต่อมาได้กลับมาเปิดสถานีฯ เวลา 05:00 น. และปิดสถานีฯ เวลา 02:00 น.อีกครั้ง ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 จึงกลับมาออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน

อาคารที่ทำการและสำนักงาน

เมื่อราวต้นปี พ.ศ. 2512 มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการสถานีฯ บนที่ดินขนาด 6 ไร่เศษ บริเวณกิโลเมตรที่ 19 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยอาคารดังกล่าวมีความสูง 4 ชั้น ภายในเป็นห้องส่งโทรทัศน์ ขนาด 600 ตารางเมตร 2 ห้อง, ขนาด 424 ตารางเมตร 2 ห้อง และขนาด 110 ตารางเมตรอีก 1 ห้อง โดยแต่ละห้องส่งจะมีห้องควบคุมเฉพาะ และยังติดตั้งจอขนาดใหญ่ มีความกว้าง 47 เมตร ความสูง 7.5 เมตร สำหรับแสดงภาพด้วยระบบไซโครามา ใช้ในการประดิษฐ์ภาพฉากท้องฟ้า ที่ช่วยให้เกิดเป็นภาพชัดลึก รวมถึงสามารถเปลี่ยนสีของฉากอย่างเสมือนจริง และเปลี่ยนความเข้มของแสงได้อย่างรวดเร็วและนุ่มนวล

ต่อมา บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ดำเนินการแยกส่วนของสำนักงาน ไปยังอาคารเลขที่ 2259 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และจัดสร้างห้องส่งโทรทัศน์บนชั้น 8 ของอาคารโรบินสัน จากนั้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2529 จึงนำส่วนงานที่กระจายอยู่ 3 แห่ง มารวมศูนย์อยู่ที่อาคารวานิช 1 และ 2 บริเวณแยกวิทยุ-เพชรบุรี (ถนนวิทยุตัดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่) เพื่อเพิ่มความสะดวกให้การดำเนินงานคล่องตัวมากขึ้น และในราวปี พ.ศ. 2542 สถานีฯ ย้ายอาคารที่ทำการทั้งหมด ขึ้นไปยังอาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท[2]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา สถานีได้ย้ายมายังกลุ่มอาคารที่ทำการปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มบีอีซีเวิลด์เป็นเจ้าของด้วยตนเองคือ อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์(เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท เอสโซ่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) แต่เดิม) เลขที่ 3199 ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โดยอาคารเอ็ม 1 เป็นที่ตั้งสำนักงานบริษัทฯ และอาคารเอ็ม 2 เป็นส่วนปฏิบัติการออกอากาศสถานีโทรทัศน์[1]

โครงสร้างองค์กร

ไทยทีวีสีช่อง 3 มีรูปแบบการบริหารองค์กร โดยแบ่งหน่วยงานย่อยออกเป็น 18 ฝ่าย ประกอบด้วย

  • ฝ่ายบริหาร
  • ฝ่ายผลิตรายการ
  • ฝ่ายข่าว
  • ฝ่ายรายการ
  • ฝ่ายออกอากาศ
  • ฝ่ายศิลปกรรม
  • ฝ่ายวิศวกรรม
  • ฝ่ายเทคนิคโทรทัศน์
  • ฝ่ายแผนงานวิศวกรรม
  • ฝ่ายไฟฟ้ากำลัง
  • ฝ่ายสถานีวิทยุกระจายเสียง (เอฟ.เอ็ม.105.5 เมกะเฮิร์ตซ์)
  • ฝ่ายธุรการ
  • ฝ่ายบุคคล
  • ฝ่ายบัญชี
  • ฝ่ายการเงิน
  • ฝ่ายโฆษณา
  • ฝ่ายการตลาด
  • ฝ่ายประชาสัมพันธ์

คำขวัญประจำสถานี

เมื่อปี พ.ศ. 2524 ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้มีการจัดกิจกรรมให้ผู้ชมร่วมเสนอคำขวัญประจำสถานีฯ ทว่าไม่มีคำขวัญใดที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งนี้ ในอีกสามปีต่อมา นายวิชัย พร้อมด้วยผู้บริหารไทยทีวีสีช่อง 3 นำคำขวัญ ซึ่งได้มาจากการเสนอของผู้ชมในครั้งแรก มารวมเข้ากับแนวคิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ของสถานีฯ จนกระทั่งได้คำขวัญว่า คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3 โดยนำมาเผยแพร่ออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2527 เนื่องในโอกาสที่สถานีฯ มีอายุครบรอบ 15 ปี และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เส้นเวลา

  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 - วิชัย มาลีนนท์ จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
  • 4 มีนาคม พ.ศ. 2511 - ลงนามสัญญาร่วมดำเนินกิจการกับบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด
  • พ.ศ. 2512 - พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสถานีฯ
  • 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 - เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการเวลา 10.00 น.
  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2514 - เริ่มจัดทำนิตยสารรายการโทรทัศน์เพื่อแจกจ่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • พ.ศ. 2515 - ปรับผังรายการครั้งใหญ่ โดยนำรายการภาพยนตร์ชุดต่างประเทศเป็นหลัก
  • พ.ศ. 2517 - ภาพยนตร์จีนชุด "เปาบุ้นจิ้น" ออกอากาศครั้งแรก และได้รับความนิยมสูง ณ ขณะนั้น
  • พ.ศ. 2518 - ติดต่อสั่งซื้อภาพยนตร์จีนจากบริษัทผู้สร้างทั้งในฮ่องกง และไต้หวัน แทนซื้อผ่านบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศ และเจรจากับผู้สร้างภาพยนตร์ไทยขอนำฟิล์มมาอัดลงเป็นเทปโทรทัศน์ก่อนภาพยนตร์แต่ละเรื่องเข้าฉายในโรงภาพยนตร์
  • พ.ศ. 2519
    • รื้อฟื้นการผลิตละครโทรทัศน์ โดยเปลี่ยนวิธีผลิตเป็นการบันทึกเทปก่อนออกอากาศ
    • นำภาพยนตร์ไทยมาออกอากาศ
  • พ.ศ. 2520
    • คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุบบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด และจัดตั้ง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ทำให้ช่อง 3 ย้ายมาอยู่ในความดูแลของ อ.ส.ม.ท. แทน
    • ยื่นขอขยายอายุสัญญาดำเนินกิจการเพิ่มอีก 10 ปี
    • ปรับผังรายการใหม่ โดยแบ่งช่วงเวลาและเนื้อหาที่หลากหลาย
    • จัดทำนิตยสารรายการโทรทัศน์เป็นภาษาอังกฤษ
  • พ.ศ. 2521
    • 28 เมษายน - ได้รับอนุมัติขยายอายุสัญญาร่วมดำเนินการกับ อ.ส.ม.ท.ไปอีก 10 ปี (ถึง พ.ศ. 2533)
    • เริ่มออกอากาศ ข่าวดาวเทียม ซึ่งเป็นการรายงานข่าวที่ถ่ายทอดจากแหล่งข่าวจากต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2523
    • ปิดสถานีช่วงเย็น 18.30 - 20.30 น. เพื่อสอดคล้องกับมาตรการประหยัดไฟของรัฐบาลในสมัยนั้น
    • จัดตั้งสถาบันศิลปะการแสดง
  • พ.ศ. 2524
    • จัดซื้ออุปกรณ์ห้องส่งมูลค่า 50 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงห้องส่งโทรทัศน์
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2527 - เริ่มใช้คำขวัญสถานีอย่างเป็นทางการ
  • พ.ศ. 2528
    • คณะรัฐมนตรี มีมติให้ช่อง 3 และ อ.ส.ม.ท. ขยายสถานีเครือข่ายโทรทัศน์ในต่างจังหวัด ใช้เงินรายได้ของ อ.ส.ม.ท. เป็นหลัก
    • ได้รับลิขสิทธิ์จากบริษัทมิสเวิลด์ สหราชอาณาจักร ให้จัดการประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์ เป็นประจำทุกปี
  • พ.ศ. 2529
    • 27 มกราคม - ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่อาคารวานิช
    • เปิดสถานีช่วงเวลา 18.30 - 20.30 น. โดยนำเสนอรายการข่าว และรายการเพื่อการศึกษา
    • อ.ส.ม.ท. อนุมัติให้ช่อง 3 แยกรายการข่าวไปผลิตเอง
  • มีนาคม พ.ศ. 2540 - เริ่มออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง
  • พ.ศ. 2548 - ย้ายที่ทำการมาที่อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์
  • 16 กันยายน พ.ศ. 2552 - ระบบบำบัดน้ำเสียภายในอาคารมาลีนนท์เกิดชำรุด ทำให้ไม่สามารถออกอากาศได้ชั่วขณะ
  • 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - เริ่มแพร่ภาพคู่ขนานกับโทรทัศน์ระบบดิจิทัลความคมชัดสูง ที่ช่องหมายเลข 33(ช่อง 3 เอชดี)
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - เปลี่ยนโดเมนเนมจาก www.thaitv3.com เป็น www.ch3thailand.com

สถานีเครือข่าย

ระบบดิจิทัล

ระบบแอนะล็อก

รายการโทรทัศน์

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ประวัติสถานีฯ จากเว็บไซต์ไทยทีวีสีช่อง 3
  2. 2.0 2.1 34 ปี ช่อง 3 จากเว็บไซต์นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา

ดูเพิ่ม

  • ช่อง 3 เอสดี (28)
  • ช่อง 3 แฟมิลี่ (13)

แหล่งข้อมูลอื่น



Advertisement