ประชาสังเคราะห์

#ความรู้อยู่ในหัวทุกคน ติดตาม PSK ได้ทุกช่องทาง ทั้งบล็อก, เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม และบล็อกดิท สะดวกช่องทางไหน ติดตามได้ที่นั่น (อ่านต่อ)

READ MORE

ประชาสังเคราะห์
Advertisement
Question book-new
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด ๆ เลย
กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือลบออก (นำป้ายนี้ออก)

สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นหนังสือประเภทสารานุกรมฉบับแรกที่สร้างโดยคนไทย จัดพิมพ์โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (ราชบัณฑิตยสถานเดิม) ซึ่งจัดพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499พ.ศ. 2559 ใช้เวลาการจัดพิมพ์นานถึง 60 ปีจึงแล้วเสร็จ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานฉบับปรับปรุง

ข้อมูลทั่วไป[]

สารานุกรมของราชบัณฑิตยสถานนั้น เคยจัดทำมาครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2486 แต่ต้องหยุดชะงักลง ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะผู้บังคับบัญชาราชบัณฑิตยสถาน ได้เสนอให้ราชบัณฑิตยสถาน จัดทำหนังสือสารานุกรมขึ้นมาใหม่[1]

เนื้อหาในสารานุกรม[]

เนื้อหาในสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน จะประกอบด้วยหัวข้อหลัก ๆ คือ

  1. บุคคลสำคัญ
  2. เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวของโลก
  3. ประเทศ ภูมิภาค นคร เมือง
  4. ดาราศาสตร์
  5. เชื้อชาติของมนุษย์
  6. นิยายโบราณ
  7. ศาสนา
  8. ปรัชญา
  9. ลัทธินิกายต่าง ๆ
  10. หนังสือสำคัญของโลก
  11. ตำนานและนิทาน
  12. ตัวละครที่สำคัญในวรรณคดีไทย
  13. สังคมและการเมือง
  14. ครอบครัวและตระกูลที่สำคัญ
  15. สถาบัน องค์กรต่าง ๆ
  16. วันหยุด, งานและพิธีรีตอง
  17. วิทยาศาสตร์ ศีลธรรม และวัฒนธรรม (วรรณคดี ศิลปกรรม)
  18. เศรษฐกิจ

รายการสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน[]

เล่ม เนื้อหา ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า จำนวนศัพท์ ISBN
1 ก – กลากเหล็ก พ.ศ. 2499 595 201 N/A
2 กลาง – กาลิเซีย พ.ศ. 2501 N/A
3 กาลิทาส – ขอมแปรพักตร์ N/A
4 ข่อย – คมนาคม N/A
5 คมนาคม, กระทรวง – คุรุสภา N/A
6 คุหยัก – แค้ N/A
7 แคกสตัน – จรดพระนังคัล N/A
8 จรวด – จี๊ด N/A
9 จีน – ฉัททันต์ พ.ศ. 2512 N/A
10 ฉันท์ – เชียงราย N/A
11 เชียงรุ้ง – ดีดขัน พ.ศ. 2515 N/A
12 ดี.ดี.ที. – ตั๋วแลกเงิน N/A
13 ตัวสงกรานต์ – ทะนาน N/A
14 ทะเบียน – ธรรมราชา N/A
15 ธรรมวัตร – นิลเอก N/A
16 นิ่ว – บุพพาราม N/A
17 บุพเพนิวาสานุสติญาณ – ประตูสามยอด N/A
18 ประถมจินดา – ปิง N/A
19 ปิงคละ – ฝ้าย N/A
20 ฝาเรือน – พานทอง N/A
21 พายุ – ภักดี พ.ศ. 2530 974-812-039-2
22 ภัททิยะ – มโหสถ พ.ศ. 2533 680 974-812-032-2
23 มอ – แม่แรง พ.ศ. 2534 663 974-8120-32-3
24 แมลง – ราชนีติ N/A
25 ราชบัณฑิตยสถาน – โลกธรรม พ.ศ. 2544 602 974-812-032-5
26 ฦ, ฦๅ – สตูล พ.ศ. 2549 618 128 978-974-958-854-1
27 สถานเสาวภา – สาละ, ต้น พ.ศ. 2550 N/A
28 สาลี, ข้าว – หวาย, ต้น พ.ศ. 2551 584 978-974-958-895-6
29 หวี่, แมลง – อังคุตรนิกาย พ.ศ. 2553 N/A
30 อั้งยี่ – ไฮโดรเจน[2][3] พ.ศ. 2559 672 978-616-389-033-7

อ้างอิง[]

แหล่งข้อมูลอื่น[]

Advertisement